กริยาลงท้ายด้วย พยัญชนะเสียง t d
(*เทคนิค จำว่า เสียงที่ดี t, d เติม ed อ่านว่าอิด)
needed นีดิท
wanted ว้อนทิด
ended เอนดิด
submitted เสิบมิทิด
2. เสียง ท /t/
กริยาลงท้ายด้วย พยัญชนะเสียง voiceless c ch f k p q s sh x
(*เทคนิค จำว่า “ไม่สั่นเจอ t” เสียงสะกด voiceless คอไม่สั่น เวลาเติม ed ให้ออกเสียงท้าย t (ซึ่งเสียง t เป็นเสียง voiceless คอไม่สั่นเหมือนกัน)
talked ทอ(ล)คท
stopped สต๊อพท
watched วอชท
laughed ลาฟท
3. เสียง ด /d/
กริยาลงท้ายด้วย พยัญชนะเสียง voiced b dg g j l m n r v w y z
(*เทคนิค จำว่า “สั่นเจอ d แน่” เสียงสะกด voiced คอสั่น เวลาเติม ed ให้ออกเสียงท้าย d (ซึ่งเสียง d เป็นเสียง voiced คอสั่นเหมือนกัน)
lived ลีฝด
enjoyed เอนจอยด
showed โช(ว)ด
learned เลิ(ร)นด
ข้อควรระวัง
บางคำหน้าตาคล้ายกริยาเติม ed แต่เป็นคำคุณศัพท์ (adjective)
ให้ออกเสียง อิด /ɪd/
naked เนคิด – naked eye ตาเปล่า
wicked วิคิด – a wicked grin รอยยิ้มชั่วร้าย
aged เอจิด – an aged man ชายชราคนหนึ่ง
*บางคำถ้ารากเดิมใช้เป็นกริยา ก็อิงตามกฏ 3 ข้อเลยจ้า
ส่วนบางคำที่เป็นได้ทั้งคำ adj และกริยา +ed
เราจะดูตามกฏของหน้าที่คำนั้นๆเลยค่ะ เช่น
คำว่า aged ถ้าเป็น adj = ออกเสียง เอจจิด
an aged man /ɪd/
aged เป็น verb+ed = ออกเสียงตามกฏที่3 เอจด
He aged/d/ quickly. เขาผู้ชายแก่เร็ว